วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

10 อันดับปัญหาทางการศึกษา

ปัญหาการศึกษาไทย เป็นปัญหาที่เรื้อรังมาโดยตลอด การระดมความคิดเห็นของ ผู้บริหารการศึกษา ทั้งในด้านการสะท้อนปัญหาและการแก้ไขปัญหาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง สวนดุสิตโพล สถาบันราชภัฎสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษาระดับสูงและระดับกลาง ที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 216 คน (ทั้งผู้บริหารในกระทรวงศึกษาธิการ , ผู้บริหารสถานศึกษาทุกระดับ)ในวันที่ 14 มกราคม 2543 สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้ 10 ปัญหาการศึกษาไทย ที่หนักอกผู้บริหารการศึกษา และแนวทางการแก้ไข
อันดับที่ 1 ยาเสพติด 30.43%
วิธีการแก้ไข ทุกฝ่ายร่วมมือกันอย่างจริงจัง, จัดกิจกรรมให้กับนักศึกษามากขึ้น, ดำเนินการอย่างจริงจัง/ มีบทลงโทษเด็ดขาด ฯลฯ
อันดับที่ 2 ความตระหนักในบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรทางการศึกษา 12.56%
วิธีการแก้ไข ให้ความสำคัญกับอาชีพอย่างจริงจัง,กำหนดบทลงโทษและลงโทษอย่างเฉียบขาด สำหรับผู้ขาดความรับผิดชอบ, จัดทำบัญชีเงินเดือนให้สูงขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 3 เงินกู้ยืม ทุนการศึกษา มีไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ต้องการ 12.08%
วิธีการแก้ไข รัฐบาลควรให้ความสนับสนุนโดยช่วยเหลือนักเรียนและสถาบันการศึกษา, การมีข้าราชการประจำทำงานโดยเฉพาะ, จัดสรรงบประมาณ, ตั้งกองทุนกู้ยืม ฯลฯ
อันดับที่ 4 สถานศึกษาขาดปัจจัยสนับสนุน ด้านบุคลากร และงบประมาณที่เหมาะสม 11.59%
วิธีการแก้ไข รีบเร่งหามาตรการแนวทางในการสรรหาบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพ, เพิ่มงบประมาณ,ใช้งบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ฯลฯ
อันดับที่ 5 นักศึกษา/ นักเรียน ขาดคุณภาพ 11.11%
วิธีการแก้ไข ดูแลกวดขันมากขึ้น, พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาเข้าสู่ระดับมาตรฐาน,จัดหาอาจารย์ผู้มีความสามารถและรับผิดชอบดูแล ฯลฯ
อันดับที่ 6 วัฒนธรรม / จริยธรรมเสื่อมโทรมลง 8.21%
วิธีการแก้ไข ให้ทางสถาบันกวดขันความประพฤติมากขึ้น, ควรกำหนดเนื้อหาวิชาศาสนา จริยธรรม เป็นวิชาแกนบังคับ, ผู้ปกครองควรช่วยกันดูแล ฯลฯ
อันดับที่ 7 การแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารของกระทรวงศึกษาไม่โปร่งใส/ไม่ยุติธรรม 5.13%
วิธีการแก้ไข มีคณะกรรมการที่โปร่งใส/ ยุติธรรมดำเนินการ, ไม่ควรให้นักการเมืองมาจุ้นจ้าน, จัดให้มีการสอบขึ้นบัญชีชัดเจน ฯลฯ
อันดับที่ 8 หลักสูตรการเรียนการสอนล้าสมัย 3.38%
วิธีการแก้ไข จัดการเรียนให้มีการพัฒนาพร้อมทั้งมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก,เปิดให้มีสถาบันรับรองการศึกษานอกจากองค์กรของรัฐ, ระดมครูทั้งประเทศร่วมกันคิดอย่างทั่วถึง ฯลฯ
อันดับที่ 9 การแต่งกายและการขาดระเบียบวินัยของนักศึกษา 2.90%
วิธีการแก้ไข กวดขันเรื่องการแต่งกายมากขึ้น, อาจารย์ที่ปรึกษาต้องทุ่มเทเวลาต่าง ๆ ใกล้ชิดมากกว่านี้, ปลูกจิตสำนึกให้เข้าใจในบทบาทและหน้าที่ ฯลฯ
อันดับที่ 10 การปฏิรูปการศึกษาที่ล่าช้า ไม่มีแนวทางชัดเจน 2.61%
วิธีการแก้ไข ควรเร่งชี้แจงให้ผู้บริหารสถานศึกษาได้รับทราบอย่างชัดเจนและเร่งสร้างความเข้าใจแก่บุคลากรในกระทรวง ฯลฯ




บรรณานุกรม

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย. (2550). รายงานการพัฒนาคน
ของประเทศไทยปี 2550. กรุงเทพฯ: คีนพลับบิชิง.
รุ่ง แก้วแดง. (2544). การปฏิวัติการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: มติชน
เลขา ปิยะอัจฉริยะ. การเสวนาเรื่องยุทธศาสตร์และการจัดการความรู้พื้นฐานเพื่อ
การพัฒนาครู สืบค้น 10 /8/2550. จาก www.manager.co.th/Daily/Viewnews.apx?
วราภรณ์ สามโกเศศ. (2550). การแก้ปัญหาหนี้สินครู. สืบค้น 5/4/2550
จาก www.moe.go.th/websm/newsapr07
สมชาย บุญศิริเภสัช. (2545). การศึกษาการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครู
ในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตการศึกษา 8 ปริญญานิพนธ์ กศ.ด.(การบิหารการศึกษา)
กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถ่ายเอกสาร
สำนักงานดูแลนักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกา(2549) ดัชนีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
สืบค้น 14/8/2550 จาก www.oeadc.org/scho/ars/state
สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี. (2550). กระทรวงศึกษาธิการเสนอแนวทางครูสหกิจ.
สืบค้น 15/2/2550 จาก www.moe.go.th/websm/newsFeb07
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2545). รายงานสภาวะการศึกษาไทยต่อประชาชน:
ปมปฏิรูป. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี
________ . (2548). สภาวะการขาดแคลนครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของ
ประเทศไทย. กรุงเทพฯ.พริกหวานกราฟฟิก
________ . (2549). รายงานการติดตามและประเมินความก้าวหน้าการปฏิรูปการศึกษา
ด้านการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี.
อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2550). อมรวิชช์เสนอการพัฒนาครูเป็นยุทธศาสตร์แห่งชาติ.
สืบค้น 7/6/2550 จาก http://school.obec.go.th/kroosakon/news/view.php?no=107
ASEAN (2005, 19 August). Statement of the Ministers Responsible for Education.
Of ASEAN Countries.
Knight, Arletta Buaman. (2006) Teacher “ Credibility”: A Tool for Diagnosing Problem In Teacher/ Student
Relationships. Retrieved 7/6/2007 from www.ou.edu/pii/tips/ideas/credibility.html.
Reimers, Eleonora Villegas. (2003). Teacher Professional Development: An
International Review of the Literature. Paris. CHEMS

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น